Wednesday, January 15, 2014

1.ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)

Disk drive ดิสก์ไดร์
DISK Drive

          ไดรฟ์สำหรับอ่าน

และบันทึกข้อมูลจากแผ่นดิสก์ ซึ่งไดรฟ์ที่เห็นในรูปเป็นไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้ว คือใช้อ่านข้อมูล
จากแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ด้านท้ายของไดรฟ์จะมีคอนเน็คเตอร์ สำหรับต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลาย
เข้าที่ตัวไดรฟ์ และคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพ (สายรับส่งข้อมูล) เข้ากับคอนเน็คเตอร์ 
FDD Connector บนเมนบอร์ด
เครื่องจานแม่เหล็ก (disk drive) เป็นเครื่องที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลบนจานแม่เหล็ก มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องเล่นจานเสียงธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่แทนที่จะมีเข็มกลับมีหัวอ่านและหรือหัวบันทึก (read-write head) คล้ายเครื่องแถบแม่เหล็กที่เคลื่อนที่เข้าออกได้ เครื่องจานแม่เหล็ก มีสองแบบ คือ แบบจานติดอยู่กับเครื่อง (fixed disk) และแบบยกจานออกเปลี่ยนได้ (removable disk)
จานแม่เหล็กส่วนใหญ่ทำด้วยพลาสติก มีรูปร่างเป็นจานกลมคล้ายจานเสียงธรรมดา แต่ฉาบผิวทั้งสองข้างด้วยสารแม่เหล็กเฟอรัสออกไซด์ การบันทึกทำบนผิวของสารแม่เหล็กแทนที่จะเซาะเป็นร่องเล็ก ๆ การอ่านและการบันทึกข้อมูลกระทำโดยใช้หัวอ่านที่ติดตั้งไว้บนแผงที่สามารถเลื่อนเข้าออกได้
ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้บนรอยทางวงกลมบนผิวจานซึ่งมีจำนวนต่าง ๆ เช่น 100-500 รอยทาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจานมีตั้งแต่ 1-3 ฟุต สามารถบันทึกตัวอักษรได้หลายล้านตัวอักษร การบันทึกใช้บันทึกทีละบิตโดยใช้แปดบิตต่อหนึ่งไบต์ จานแม่เหล็กหมุนเร็วประมาณ 1,500-1,800 รอบต่อนาที สามารถค้นหาข้อมูลด้วยเวลาเฉลี่ยประมาณ 50 มิลลิวินาที สามารถย้ายข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงถึง 320,000 ไบต์ต่อวินาที ขอให้เราสังเกตว่าเวลาเฉลี่ยเหล่านี้เป็นเวลาที่ช้ากว่าเครื่องรุ่นใหม่ ๆ มาก
ถ้าต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เขาจะใช้จานแม่เหล็กที่มีจำนวน 2 หรือ 6 หรือ 12 จานมาติดตั้งซ้อนกันตามแนวดิ่ง รวมกันเป็นหนึ่งหน่วย เรียกว่า ดิสก์แพ็ค (disk pack) ซึ่งเราสามารถยกดิสก์แพ็คเข้าออกจากเครื่องได้ การทำเช่นนี้ ทำให้จานแม่เหล็กสามารถทำหน้าที่คล้ายแถบแม่เหล็ก

Tuesday, January 14, 2014

2.เคส (CASE)

เคส (Case) คืออะไร


เคส (Case) คืออะไร

Case หรือ "เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU  เมนบอร์ด การ์ดจอฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น

รูปแบบของ Case

1.Case แนวนอน


2.Case แนวตั้ง




รูปร่างของ เคส(Case) จะแตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบของผู้ผลิต ส่วนวัสดุที่ใช้ทำเคสนั้น มีทั้งโลหะ พลาสติก อะลูมิเนียม อะคลีลิก และก็วัสดุผสม

Monday, January 13, 2014

3.ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)

ซีดีรอมไดร์ฟ  (CD-ROM Drive)  หรือเครื่องขับคอมแพคดิสก์เป็นไดร์ฟที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมเพียงอย่างเดียว  ส่วนใหญ่จะใช้งานในด้านการติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมต่าง ๆ รวมไปถึงงานที่เกี่ยวกับความบันเทิง เช่น  ดูหนัง ฟังเพลง  และงานด้านมัลติมีเดียด้วย  โดยมีหน่วยความเร็วในการอ่านข้อมูลเป็น X   เช่น 48X  50X  หรือ 52X เป็นต้น  ในปัจจุบันแทบจะเรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีไดร์ฟซีดีรอม  อย่างน้อยหนึ่งไดร์ฟเสมอ  ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในตอนนี้แล้ว  
        
ซีดีรอมไดร์ฟจะอ่านข้อมูลด้วยความเร็วในการหมุนแผ่น  ที่ไม่คงที่ โดยจะอ่านข้อมูลที่อยู่วงนออกของแผ่นซีดีด้วยความเร็วสูง และจะค่อย ๆ ลดความเร็วลงมาเมื่ออ่านข้อมูลที่อยู่วงในสุดส่วนใหญ่  ซีดีรอมไดร์ฟจะอ่านข้อมูลที่อยู่ตรงกลางแผ่นเสียส่วนมาก  ทำให้ความเร็วเพียงแค่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของความเร็วสูงสุดที่มีเท่านั้น  ดังนั้นซีดีรอมไดร์ฟส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยทำงานที่ความเร็ว   สูงสุดของไดร์ฟเท่าใดนักอย่างเช่น ซีดีรอมไดร์ฟความเร็ว  50X  จึงไม่ใช่ความเร็วในการอ่านข้อมูลอย่างต่อเนื่อง   แต่จะเป็นความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีที่อยู่วงนอกสุด หลังจากนั้นค่อย ๆ ลดความเร็วลงมาเมื่ออ่านข้อมูลที่อยู่วงในด้วยความเร็วที่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของไดร์ฟก็จะประมาณ  20-25X  เท่านั้น
       ไดร์ฟที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลที่เราต้องการลงแผ่นซีดีรอมได้เรียกว่า  ซีดีไรท์เตอร์ไดร์ฟซึ่งสามารถ ใช้เขียนข้อมูลทุกอย่างที่เราต้องการลงบนแผ่นซีดีอาร์  และแผ่นซีดีอาร์ดับบลิว  ปัจจุบันแผ่นซีดีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 3  ประเภทได้แก่
       
1.   แผ่นซีดีรอม  (CD-ROM)  เป็นแผ่นซีดีแบบอ่านได้อย่างเดียว
       2.  
แผ่นซีดีอาร์  (CD-R)  เป็นซีดีแบบเขียนได้  แต่เขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
       
3.  แผ่นซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW)  เป็นแผ่นซีดีแบบเขียนซ้ำได้หลายครั้ง

Saturday, January 11, 2014

4.เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

พาวเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)

เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย

ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 200-250 VAC พร้อมกระแสไฟประมาณ 3.0-6.0 A และความถี่ที่ 50Hz ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ เพาเวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ รวมถึงปริมาณความต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆด้วย โดยระดับของแรงดันไฟ (DC Output) ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน แต่ปริมารสูงสุดของกระแสไฟ (Max Current Output) ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน (แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ) ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำนวลค่าไฟโดยรวม (Total Power) ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างรายละเอียดจากเพาเวอร์ซัพพลายยี่ห้อ Enermax ตะกูล Coolergiant รุ่น EG701AX-VH(W) ที่ให้กำลังไฟโดยรวมประมาณ 600 วัตต์ (Watt) ซึ่งมีข้อมูลต่างๆดังนี้
  • แรงดันไฟ(DC Output) +3.3V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ เม็นบอร์ด และการ์ดจอ เป็นหลัก
  • แรงดันไฟ(DC Output)+5V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ เม็นบอร์ด, แรม และอุปกรดิสก์ไดร์รวมถึงพอร์ต ต่างๆ
  • แรงดันไฟ(DC Output)+12V1และ +12V2 ปริมารกระแสไป (Current Output) 18A ใชั้กับ ซีพียู, เม็นบอร์ด, มอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงระบบระบายความร้อนต่างๆ ในที่นี้มาให้ 2 ชุด
  • แรงดันไฟ(DC Output) -12V ปริมารกระแสไฟ (Current Output) 0.8 A ใช้ร่วมกับไฟ +12V เพื่อจ่ายให้กับอุปกรร์ต่างๆ
  • แรงดัน(DC Output) +5VSB ปริมารกระแสไฟ(Current Output) 2.5 A เป็นแรงดันไฟสำรอง (Standby Voltage) ที่ใช้เปิดหรือปลุกการทำงานของเครื่องให้ตื่นขึ้นจากสภาวะเตรียมพร้อม (Stanby)

Friday, January 10, 2014

5.แรม (RAM) (Random Access Memory)


แรม (RAM : Random Access Memory) คือ หน่วยความจำที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำประเภทที่อ่าน/เขียน ข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำจะหายหมดทันที

หน่วยความจำจะทำงานร่วมกันกับซีพียู (CPU)อยู่ตลอดเวลา่ แทบทุกจังหวะการทำงานของซีพียู (CPU) จะต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอ หรือแม้แต่ในขณะที่เราสั่งย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้หน่วยความเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล

เปรียบเทียบง่ายๆ ก็ประมาณว่า แรมก็คล้ายๆ กับคลังขนส่งที่จะเป็นตัวกลางในการขนส่งสินค้า ในทีนี้ก็คือข้อมูลโดยจะทำงานร่วมกับบริษัทแม่ก็คือ ซีพียู (CPU) ที่เป็นตัวกลางในการรีบคำสั่งงานจากลูกค้าเพื่อมาประมวลผลแล้วส่งผลที่ได้ไปให้แรมนั่นเอง

Thursday, January 9, 2014

6.ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) (หน้า 1/2)
Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง  ๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk
ส่วนประกอบของ Hard Disk 
1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm ) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วยVoice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor
2 . หัวอ่าน ( Head ) เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters ) มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุและสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น และเพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้งด้าน
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter ) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. เคส ( Case ) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง
ชนิดของ Hard Disk แบ่งตามการเชื่อมต่อ (Interface)
1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
          Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk  ได้ ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่504 MB


รูปแสดง 
Slot IDE บนแผงวงจร Mainboard
2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
          Hard Disk แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า504 MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์/ วินาที
วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk แบบ E-IDE แบ่งออกเป็น โหมด คือ  PIO และ DMA
โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจากHard Disk เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง Hard Disk การทำงานในโหมดนี้จะเน้นการทำงานกับซีพียู  ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk  บ่อยครั้งหรือการทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่าMultitasking environment โหมด DMA (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น
3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
          Hard Disk แบบ SCSI เป็น Hard Disk ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ เรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง ชิ้นอุปกรณ์ ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ แบบ SCSIมีความเร็วสูงสุด 320 เมกะไบต์/วินาที  กำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์ปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE  ดังนั้น  Hard Disk แบบ SCSI จะนำมาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น
รูปแสดง อุปกรณ์ Hard Disk ที่เป็น SCSI

4. แบบ Serial ATA
          เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่มีความเร็วเพียง 133 เมกะไบต์/วินาทีส่วนเทคโนโลยีเชื่อมต่อรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA ให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์/วินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อย่าง CD-RW หรือDVD อีกด้วย
 

รูปแสดง สายสัญญาณแบบ 
Serial ATA

          ด้วยการพัฒนาของ Serial ATA ทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัวHard Disk  ลงได้  ในอนาคต Serial ATA ยังแตกต่างจาก Hard Drive ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนาน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ Hard Drive ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดโดยตรง  สามารถลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไป อีกทั้ง Hard Disk ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก

Tuesday, January 7, 2014

7.แป้นพิมพ์ (Keyboard)

Keyboard (คีย์บอร์ด) คืออะไร

Keyboard
          Keyboard เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
          แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่น แรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระ PCXT ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น
          ประเภทของ Keyboard ดูได้จากจำนวนปุ่ม และรูปแบบการใช้งาน Key board ที่มีอยู่ปัจจุบันจะมีอยู่ 5 แบบ

          1. Desktop Keyboard
          ซึ่ง Keyboard มาตรฐาน จะเป็นชนิด 101 คีย์ 

Desktop-Keyboard
          2. Desktop Keyboard with hot keys
          เป็น Keyboard ที่มีจำนวนคีย์มากกว่า 101 คีย์ ขึ้นไปแล้วแต่วัตถุประสงค์ใช้งาน ซึ่งจะมีปุ่มพิเศษ สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นไป 

Desktop-Keyboard-with-hot-keys

          3. Wireless Keyboard
          Keyboard ไร้สายเป็น Keyboard ที่ทำงานโดยไม่ต้องต่อสายเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่จะมีอุปกรณ์ ที่รับสัญญาณจากตัว Keyboard อีกทีหนึ่ง การทำงานจะใช้ความถี่วิทยุในการสื่อสาร ซึ่งความถี่ที่ใช้จะอยู่ที่ 27 MHz อุปกรณ์ชนิด นี้มักจะมาคู่กับอุปกรณ์ Mouse ด้วย 

Wireless-Keyboard
          4. Security Keyboard
          รูปร่างและรูปแบบการทำงานจะเหมือนกับ Keyboard แบบ Desktop แต่จะมีช่องสำหรับเสียบ Smart Card เพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ Keyboard ชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ ปลอดภัยสูง หรือใช้ควบคุมเครื่อง Server ที่ยอมให้เฉพาะ Admin เท่านั้นเป็นคนเปลี่ยนแปลงข้อมูล 

Security-Keyboard
          5. Notebook Keyboard
          เป็น Keyboard ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดบางเบา ขนาดความกว้าง และยาวจะขึ้นอยู่กับเครื่อง Notebook ที่ใช้ปุ่มบนแป้นพิมพ์จะอยู่ติดกันและบางมาก คีย์พิเศษต่างจะถูกลด และเพิ่มเฉพาะปุ่มที่จำ เป็นในการ Present งาน หรือ การพักเครื่องเพื่อประหยัดพลังงาน 

Notebook-Keyboard

Monday, January 6, 2014

8.เมาส์ (Mouse)

เมาส์ (Mouse) คืออะไร

Mouse
          Mouse เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2)

Mouse แบ่งได้เป็นสองแบบคือ
          1. แบบทางกล
          2. แบบใช้แสง

          1. แบบทางกล
          เป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อน Mouse ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ Mouse แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของMouseและจอ ภาพ
          Ball Mouse
          มีชนิดที่เป็น Ball อยู่ในแนวตั้งและแนวนอน Mouse แบบ Ball การใช้งานต้องเลื่อน Mouse ยังแกนต่างๆบนหน้าจอเพื่อเลือก หรือยกเลิกโปรแกรมที่ทำงานอยู่ ต่อมาได้พัฒนา Mouse ให้มี wheel เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกับ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นมา ซึ่งช่วยในการเลื่อนหน้าต่าง Window ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเลื่อน Mouse เพียงแต่ใช้นิ้วขยับไปที่ wheel ขึ้นลงเท่านั้น

ball-mouse

          Wireless Mouse
          เป็น Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อ แบบ PS/2 หรือ แบบ USB ที่เรียกว่า Thumb USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz 

wireless-mouse

          Mouse สำหรับ Macintosh
          เป็น Mouse ที่ใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh ซึ่งเป็น Mouse ที่ไม่มี wheel และปุ่มคลิ๊ก ก็ มีเพียงปุ่มเดียวแต่สามารถใช้งาน ได้ครอบคลุมทุกหน้าที่การทำงาน ซึ่งทางบริษัท Apple ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่อง Macintosh เท่านั้น 

Mouse-Macintosh
          2. Mouse แบบใช้แสง
          อาศัยหลักการส่งแสงจาก Mouse ลงไปบนแผ่นรอง Mouse (mouse pad)

Optical-Mouse

          เป็น Mouse ชนิดใช้แสงซึ่งปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิต Mouse ชนิดนี้ได้เพิ่มให้มีความสวยงามต่างๆกันไป เช่น ใส่แสงให้กับ wheel หรือไม่ก็ออกแบบให้มีแสงสว่างทั้งตัว Mouse แต่หน้าที่การทำงานก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก Ball Mouse

Sunday, January 5, 2014

9.การ์ดจอ (Graphic Card)

การ์ดจอ (phic Card)
การ์ดจอ (phic Card) หรือการ์ดแสดงผล เป็นเหมือนสีสันของคอมพิวเตอร์เลยครับ การ์ดจอ (Graphic Card) คือ แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor)ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือAGP (Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก และอีกระบบหนึ่งคือ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


โปรแกรมในปัจจุบันมีความต้องการการคำนวณทางด้านกราฟิคที่สูงมาก อย่างที่รู้ๆ กันคือ เกมส์ ที่เรากันอยู่ในปัจจุบันครับ บรรดาผู้ผลิตต่างก็พัฒนาเกมของตนให้มีภาพกราฟิคที่ละเอียดสมจริง การ์ดจอจึงต้องพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งกราฟฟิคที่สวยงาม ตระกาลตา ปัจจุบันนี้ก็ HD(Hi definition) กันเกือบหมดแล้ว

Saturday, January 4, 2014

10.จอภาพ (Monitor)

จอภาพ (Monitor)

            จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะ
แบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตา
เมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควร
ทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้
และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต

            การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ
            จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง
           LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม
              สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ
CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ
             Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)
             Thin Flim Transistor (TFT) 
          จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN

Friday, January 3, 2014

11.เมนบอร์ด (Mainboard)

เมนบอร์ด (Mainboard)
วันพฤหัสบดีที่ 03 กันยายน 2009 เวลา 23:22 น.
เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม

มารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด

1.ซ็อกเก็ตซีพียู


ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่  ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ภายนอก  ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง

1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด  โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว  และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก

2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ  แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย  อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน  ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง  ทั้งไมค์
3.สล็อต์ AGP
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล  มีทั้ง AGP และ PCI Express  เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง  การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ

5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซตถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ  เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด  โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
-   North  Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
-   South  Bridge  จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
7.หัวต่อ SATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์  แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม  ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่  อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDEใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ

ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว
10.ซ็อกเก็ตแรม

โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุมใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์    และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USBใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส  เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น

Wednesday, January 1, 2014

12.การซ่อมบำรุงและอาการเสียต่าง ๆ

การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์

     คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งานผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคือ อย่างไรเช่นในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณ ควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไร  มีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร    ดังนั้น ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็น ห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่น   และความชื้น ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วนได้รับความร้อนสูง หรือ ตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์  ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์ 1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. 
อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า

3. 
อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย

4. 
ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

5. 
ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ

6. 
ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น

7. 
ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์

8. 
ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 
สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย 1. ความร้อน    ความร้อน ที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของ
คอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณืต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด วิธีแก้ปัญหา
• 
พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 
60-70
    
องศาฟาเรนไฮต์

 
ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง

 
ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ 
2. ฝุ่น   ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆที่ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจร
เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกนอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลาย  หรือฮาร์ดดิสค์  หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้ วิธีแก้ไข 
• 
ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
 
ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด

• 
วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก

• 
อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์ 
3. สนามแม่เหล็ก     แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญหายได้อย่างถาวรแหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมี
อยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น
 
แม่เหล็กติดกระดาาบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม

• 
คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก

• 
ไขควงหัวแม่เหล็ก

• 
ลำโพง

 
มอเตอร์ในพรินเตอร์

 UPS 
วิธีแก้ไข 
• 
ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์  

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียบปลั๊กไฟทุกเส้นที่ต่อมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะต่อหม้อแปลงที่เครื่องและต่อจากจอภาพให้เสียบปลั๊กเต้าเสียบให้เรียบร้อย เปิดสวิตซ์สำหรับเปิด-ปิดเครื่อง (ปุ่มPower) ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะพบว่ามีไฟสีเหลืองติดท่เครื่องคอมพิวเตอร์และที่แป้นพิมพ์ เปิดสวิตซ์จอภาพ หรือบางที่อาจจะติดพ่วงกับจอคอมพิวเตอร์ จะพบตัวอักษรเกิดขึ้นบนจอภาพ ขั้นตอนการใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว การจับแผ่นดิสก์ควรจับบริเวณที่ติดฉลาก ให้ด้านที่มีฉลากหงายขึ้น ดังรูป ใส่แผ่นดิสก์เข้าไปในช่อง Disk Drive A: การนำแผ่นดิสก์ออก ในระหว่างการทำงานจะมีไฟติดอยู่ อย่าเพิ่งนำแผ่นดิสก์ออก ให้กดที่ปุ่มที่ใส่ดิสก์ แผ่นดิสก์จะออกมา ขั้นตอนเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้โปรแกรมมี 2 วิธี การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม DOSมีดังนี้ นำแผ่นโปรแกรม DOS มาใส่ใน Drive A: กดปุ่ม Power เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์สักครู่จะปรากฏคำว่า Current Date is Wed 01-01+2000 Enter new date (mm-dd-yy): ให้ตรวจสอบ เดือน/วัน/ปี ปัจจุบันว่าตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้แก้ไข ถ้าตรงแล้วให้กด Enter ต่อจากนั้นจะปรากฏข้อความ             Current time 12:12:12a             Enter new time: ให้ตรวจสอบเวลาปัจจุบันว่าตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้แก้ไข ถ้าตงให้กด Enter การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดย Hard Disk โดยการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยกดปุ่ม Power จะมีการเข้าสู่โปรแกรมหรือเข้าสู่โปรแกรมของรายการเมนูหลักของโปรแกรม ให้เลือกโปรแกรมที่ต้องการ ในโปรแกรม Windows 95 จะเข้าสู่หน้าต่าง Windows 95 แล้วเลือกStart เลือกโปรแกรมที่ต้องการต่อไป วิธีปิดเครื่องคอมพิวเตอร์                1.    ต้องมีการปิดแฟ้มการทำงานและออกจากโปรแกรมใช้งานก่อนเสมอ                                     การปิดเครื่องระบบปฏิบัติการ Windows 95 มีขั้นตอนดังนี้ เลือกที่ปุ่ม Start เลือก Shut Down จะพบเมนูให้เลือกเลือก Shut Down the Computer เลือก Yes จนกว่าจะปรากฏข้อความว่า "It now safe to turn off your computer" จึงจะปิดเครื่อง Computerได้                 2.    ปิดสวิตซ์จอภาพก่อน                 3.    ปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์                  4.    ดึงปลั๊กสายไฟออกจากเต้า                  5.   ควรมีการปัดฝุ่นบริเวณเครื่องคอมพิวเตอร์                  6.    ให้ใช้ผ้าคลุมเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นละออง

รูปภาพของ kpp03249
การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
  
  คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งานผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและ
บำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณ
ในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคือ อย่างไรเช่นในห้อง
คอมพิวเตอร์ของคุณ ควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไร  มีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการ
ทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร    ดังนั้น ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็น ห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่น   และความชื้น 
ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วนได้รับ
ความร้อนสูง หรือ ตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์  ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวก
น้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์ 
1ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ นาที
    ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 
สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย 1. ความร้อน    ความร้อน ที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของ
คอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณืต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด 

วิธีแก้ปัญหา 
• พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70
    องศาฟาเรนไฮต์
 ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
 ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ


                                      การดูแลรักษาเบื้องต้นคอมพิวเตอร์ เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งาน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่
           ดูแลและบำรุงรักษา อย่างเหมาะสมสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ
           ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์
               การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์
           1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้
               15-20 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
           2. ห้ามใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ในกรณีต้องการทำความสะอาดภายนอก ควรใช้น้ำยาสำหรับ
               ทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะและทำความสะอาดตาม ที่แนะนำไว้ในคู่มือเท่านั้น
           3. ห้ามเปิดเครื่องเพื่อทำความสะอาดภายในคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง หรือดูดฝุ้นด้วยเครื่องดูดฝุ่นเพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง
               เกิดความเสียหายได้ ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างซ่อมคอมพิวเตอร์
           4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องใช้สเปรย์ทำความสะอาด ควรปล่อยให้เป็น
               หน้าที่ของช่างซ่อมคอมพิวเตอร์
           5. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
           6. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
 สิทธิโชค
อาการเสียและการแก้ไขปัญหาของคอมพิวเตอร์ 
อาการเสียของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายสาเหตุ สามารถวิเคราะห์อาการเสียเบื้องต้นได้ดังนี้
อาการ บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว ทุกอย่างไม่ทำงานและเงียบสนิท
ให้ตรวจสอบที่พัดลมด้านท้ายเครื่องว่าหมุนหรือไม่ หากไม่หมุนอาจเป็นไปได้ว่าปลั๊กไฟเสีย หรืออาจขาดใน และให้เข้าไปเช็คที่ฟิวส์ของเพาเวอร์ซัพพลาย หากฟิวส์ขาดให้ซื้อฟิวส์รุ่นเดียวกันมาเปลี่ยน แต่ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายเสีย ควรแนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายใหม่

อาการ บูตเครื่องแล้วจอมืด แต่ไฟ LED หน้าจอและไฟเคสติด
ให้ตรวจสอบที่ปุ่มการปรับสีและแสงที่หน้าจอก่อน จากนั้นจึงเช็คในส่วนของขั้วสายไฟ และขั้วสายสัญญาณระหว่างเคสและจอภาพ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะเสียบการ์ดจอไม่แน่นหากตรวจเช็คอาการเหล่านี้แล้ว ทุกอย่างเป็นปกติดีสาเหตุน่าจะเกิดจากการ์ดแสดงผล และจอภาพ ให้นำอุปกรณ์ทั้ง ตัวไปลองกับอีก เครื่องหนึ่งที่ทำงานเป็นปกติ หากการ์ดแสดงผลเสียต้องส่งเคลมหรือให้ลูกค้าเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเป็นจอภาพ ให้ตรวจเช็คอาการอีกครั้ง ถ้าซ่อมได้ก็ควรซ่อม
อาการ บูตเครื่องแล้วมีไฟที่หน้าเคสและไฟฟล็อบปี้ไดรฟ์ แต่จอมืดและทุกอย่างเงียบสนิท
ให้ตรวจสอบที่การเชื่อมต่อระหว่างขั้วต่อสายไฟของเพาเวอร์ซัพพลายกับเมนบอร์ดถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่าตรวจสอบสายแพที่เชื่อมต่อกับขั้วต่อ IDE ของฮาร์ดดิสก์ฟล็อบปี้ดิสก์ และซีดีรอม ถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือไม่
ตรวจสอบการติดตั้งซีพียูว่าใส่ด้านถูกหรือไม่ ซีพียูเสียหรือไม่
ตรวจสอบจัมเปอร์หรือดิปสวิทช์ และการเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะค่าแรงดันไฟ Vcore

อาการ ที่จอภาพแสดงข้อความผิดพลาดว่า HDD FAILURE
ตรวจสอบการตั้งค่าในไบออสว่าถูกต้องหรือไม่
ตรวจสอบขั้วต่อ IDE ว่ามีการเสียบผิดด้านหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่า
ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่าเสียหรือไม่ โดยเข้าไปในเมนูไบออส และใช้หัวข้อ IDE HDD Auto Detection ตรวจหาฮาร์ดดิสก์ ถ้าไม่เจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีปัญหาแต่หากเจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์ปกติดี
อาการ เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาแล้วมีสัญญาณเตือนดัง บี๊บ...........บี๊บ
ควรตรวจสอบแรมว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่
ตรวจสอบการติดตั้งการ์ดต่างๆ บนเมนบอร์ดว่าติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบซีพียูและการเซ็ตจัมเปอร์ว่าถูกต้องหรือไม่วิธีแก้ไขเซ็ตจัมเปอร์ใหม่โดยตรวจเช็คจากคู่มือเมนบอร์ด

• ปัญหาที่ 1 รู้ได้อย่างไรว่าเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้าง
วิธีแก้ หากอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดที่ใช้อยู่มีอุปกรณ์ Onboard อะไรแถมมาด้วยก็ไม่ยาก โดยให้ดูที่ด้านท้ายเคสซึ่งจะมีพอร์ตสำหรับต่อเมาส์ และย์บอร์ด ถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือถ้าพบมีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็ให้เสียบใช้งานได้ทันที
• ปัญหาที่ 2 การ์ดจอ Onboard เสียจะทำอย่างไร
ปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปกติแต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลย ผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสีย จึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุ
สาเหตุ เป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสีย ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอ
วิธีแก้ ให้ทำการจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น Disable หรือกำหนดค่าในไบออสให้เป็น Disable ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด แล้วนำการ์ดจอมาติดตั้งลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นที่ไม่มีสล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCIมาติดตั้งแทน
• ปัญหาที่ 3 เมนบอร์ดมีการ์ดเสียง Onboard ไม่ทำงาน
ปัญหานี้มีลักษณะคล้ายกับปัญหาการ์ดจอ Onboard แต่ส่วนใหญ่การ์ดเสียง Onboard ที่มีปัญหาใช้งานไม่ได้
สาเหตุ
1. ยังไม่ได้กำหนดให้ใช้งานวงจรเสียงได้จากไบออส
2. ยังไม่ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับวงจรเสียงดังกล่าว
3. อาจเป็นส่วนของวงจรเสียงในชิปเซ็ตเสีย
วิธีแก้
1. กำหนดค่าในไบออสโดยเลือกหัวข้อ Integrated Peripherals
2. เลือกหัวข้อ Onboard Hardware Audio และกำหนดค่าเป็น Enabled
3. Save ค่าไว้และออกจากไบออสบู๊ตเครื่องใหม่
4. ใช้แผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดติดตั้งไดรเวอร์เสียงลงใน Windows
5. หากติดตั้งแล้วใช้การไม่ได้แสดงว่าส่วนวงจรเสียงเสีย ให้ Disabled ยกเลิกการใช้งานในไบออส แล้วหาซื้อการ์ดเสียงมาติดตั้งใหม่
• ปัญหาที่ 4 จะติดตั้งพอร์ต USB ของตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดได้อย่างไร
สาเหตุ เมนบอร์ดทั้วไปมักจะมีพอร์ต USB ติดตั้งมาให้จำนวน 2 พอร์ต โดยจะมีขั้วพอร์ต USB ให้อีก 1 ช่องสำหรับต่อพอร์ต USB ได้อีก 2 พอร์ต ซึ่งพอร์ตต่อเพิ่มพอร์ต USB มักเป็น Options เสริมที่ต้องซื้อเพิ่มเอาเองแต่ในตัวเคสรุ่นใหม่ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างมักจะมีพอร์ตเสริม USB มาให้อีก 2 พอร์ต
วิธีแก้ การติดตั้งพอร์ตเสริม USB ของตัวเคสจำนวน 2 พอร์ต เพื่อให้ใช้งานได้จะต้องนำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟจำนวน เส้นมาเสียบต่อเข้ากับช่องต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยจะต้องดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้ยอย่าเสียบผิดสายเพระสาย USB จะมีไฟเลี้ยงอยู่ด้วย จะทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเสียหายได้ สำหรับขั้นตอนการติดตั้งพอร์ต USB ตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องออกมาและหาตำแหน่งขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ด โดยที่ขา จะมีเส้นทึบสีขาวขีดคร่อมอยู่
2. นำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟพอร์ต USB จากเมนบอร์ดมาเรียงไว้ โดยสายจะมี 2 ชุด ๆ ละ 4 เส้น
3. นำสายทั้ง ชุดเสียบเข้ากับขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยดูจากคู่มือเมนบอร์ดประกอบกันด้วยอย่าสลับสายกันเป็นอันขาด
• ปัญหาที่ 5 ใช้งานพอร์ต USB 2.0 ผ่านเครื่องพิมพ์ ไม่เห็นความเร็วเพิ่มขึ้น
สาเหตุ พอร์ต USB 2.0 เป็นพอร์ตมาตรฐานเพิ่งออกมาใหม่ รองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 480 Mbps หรือเร็วกว่าพอร์ต USB 1.1 ถึง 40 เท่าแต่ใช่ว่าเมื่อเมนบอร์ดรองรับพอร์ต USB 2.0 แล้วจะสามารถใช้งานได้เลย ต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ของ USB 2.0 ให้ถูกต้องเสียก่อน
วิธีแก้ สำหรับวิธีการตรวจดูว่าคอมพิวเตอร์ของเรา ได้ติดตั้งและใช้ความสามารถของพอร์ต USB 2.0 แล้วหรือยังมีดังนี้
1. ใน Windows XP ให้คลิกปุ่ม Start>Control Panel>Switch to classic view
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน system
3. คลิกแท็ป Hardware
4. คลิกปุ่ม Device Manager
5. คลิกเครื่องหมาย หน้า Universal Serial Bus controllers จะพบว่ามีแต่ไดรเวอร์ของ USB 1.1 ติดตั้งไว้เท่านั้น สำหรับ USB 2.0 ยังไม่ได้ติดตั้ง (มีเครื่องหมายตกใจสีเหลืองหน้าตัว Universal Serial Bus (USB) Controller
6. ให้ติดตั้งไดรเวอร์ USB 2.0 โดยการคลิกเมาส์ขวาที่ตัว Universal Serial Bus (USB) Controller และเลือกUpdate Driver…
7. เมื่อปรากฏหน้าจอให้ Update Driver ให้ใส่แผ่นซีดีรอมไดรเวอร์ของเมนบอร์ดเข้าเครื่องและคลิกเลือกหัวข้อInstall the software automatically และดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏหน้าจอต่อไป
8. ในขั้นตอนที่ หากต้องการติดตั้งไดรเวอร์ USB จากแผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดโดยตรงก็สามารถทำได้โดยใส่แผ่นไดรเวอร์เข้าไปในเครื่องเพื่อให้รันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้เลือกข้อ VIA USB 2.0 Driver และดำเนินการไปตามข้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอไปจนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะบู๊ตเครื่องขึ้นมาใหม่
9. ให้เข้าไปตรวจสอบสถานะของไดรเวอร์ USB 2.0 ว่าได้รับการติดตั้งแล้วหรือไม่โดยเข้าไปที่ Control Panel ซึ่งจะพบว่ามีไดรเวอร์ของ USB 2.0 ได้รับการติดตั้งแล้วคือ USB 2.0 Root Hub และ VIA USB 2.0 Enchanced Host Controller เพียงเท่านี้เมื่อมีการใช้งานพอร์ต USB 2.0 เช่น สั่งพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ผ่านพอร์ต USB 2.0 งานพิมพ์แทบจะวิ่งออกมาทีเดียว
• ปัญหาที่ เปิดสวิทซ์แล้วเครื่องไม่ทำงานใด ๆ เลยไฟก็ไม่ติด ไม่มีเสียงร้องสาเหตุที่ 1 ปลั๊ก Power Supplyหลวม
วิธีแก้ ให้ลองขยับปลั๊ก Power Supply ทั้งทางด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์และที่เต้าเสียบให้แน่น
สาเหตุที่ อาจเป็นที่ Power Supply เสีย
วิธีแก้ ให้ลองตรวจเช็คว่ามีไฟฟ้าออกจาก Power Supply ถูกต้องหรือไม่วิธีสังเกต ถ้าเป็นสายไฟสีแดงจะมีค่า +5 Volt ถ้าเป็นสายสีเหลืองจะมีค่า +12 Volt หรืออาจสังเกตง่าย ๆ ขั้นต้นว่าเมื่อเปิดสวิทซ์นั้นพัดลมที่ติดอยู่กับPower Supply หมุนหรือไม่ และเป็นไปได้ที่บางครั้ง Power Supply อาจจะเสียแต่พัดลมยังหมุนอยู่ เราอาจจะลองนำ Power Supply ตัวอื่นที่ไม่เสียมาลองเปลี่ยนดูก็ได้ ถ้าเสียก็ซื้ออันใหม่มาเปลี่ยน เอาแบบวัตต์สูง ๆ ก็จะดี
สาเหตุที่ 3 เป็นที่เมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ถ้า Power Supply ไม่เสียมีไฟเลี้ยงเข้าเมนบอร์ดตามปกติ ให้ลองเช็คโดยการถอดการ์ดต่าง ๆ และ RAMออกหมด ถ้าเปิดเครื่องแล้วไม่มีเสียงร้องแสดงว่าเมนบอร์ดหรือ CPU เสีย แต่ถ้ามีเสียงร้องแสดงว่าอุปกรณ์บางตัวที่ถอดออกไปเสีย และถ้าหากเมนบอร์ดเสียให้ส่งที่ร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
สาเหตุที่ 4 CPU หลวม
วิธีแก้ ส่วนใหญ่เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับซีพียูประเภทซ็อคเก็ตสล็อตวัน (Slot 1) และซ็อคเก็ตสล็อตทู (Slot 2)เช่น เพนเทียมทู เป็นต้น ให้เราปิดฝาเครื่องและลองขยับซีพียูที่ดูเหมือนแน่นอยู่แล้วให้แน่นขึ้นไปอีก
สาเหตุที่ 5 CPU เสีย
วิธีแก้ ลองหา CPU ตัวใหม่มาลองเปลี่ยนแทน ถ้าใช้ได้ละก็แสดงว่าตัวเก่าเสียแน่นอน
สาเหตุที่ เป็นที่อุปกรณ์บางตัวเสียทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
วิธีแก้ ให้ลองใส่ตรวจเช็คทีละตัว
• ปัญหาที่เปิดเครื่องแล้วมีเสียงร้องแต่ไม่ยอมทำงานใด ๆ 
สาเหตุที่ อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม
วิธีแก้ ถ้าอุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม จะทำให้กระบวนการเช็คค่าเริ่มต้น (POST) ของ BIOS ฟ้องค่าผิดพลาด ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
สาเหตุที่ 2 อุปกรณ์บางตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดต่อไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับ RAM ปกติเมื่อเราเปิดเครื่องแล้วมีปัญหาไม่สามารถแสดงภาพออกทางหน้าจอในตอนเริ่มต้นได้ Bios จะพยายามแจ้งอาการเสียผ่านทางเสียงร้องออกทางลำโพงที่อยูภายในเครื่องคอมพ์ ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
สาเหตุที่ อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ให้เราลองเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ดดู
สาเหตุที่ 4 Chip บนเมนบอร์ดบางตัวเสีย
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเครื่อง Beep Code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chipหรือต้องซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ถ้าไม่มีอะไหล่
• ปัญหาที่ 8 เครื่องทำงานพื้นฐานตามปกติได้แต่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์บางตัวได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้นไม่ได้เสีย
สาเหตุที่ 1 Chip บางตัวบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเรื่อง Beep code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chipหรือต้องซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ถ้าไม่มีอะไหล่
สาเหตุที่ สล็อตหรือพอร์ตบางพอร์ตบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ลองเปลี่ยนการ์ดตัวนั้นไปเสียบสล็อตอื่นที่เหลือแทน แล้วลองทดสอบตามปกติ ถ้าเหมือนเดิมส่งร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
สาเหตุที่ 3 เกิดการ Conflict กับอุปกรณ์ตัวอื่น
วิธีแก้ เข้าไปที่ Device Manager ให้สังเกตว่ามีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) แสดงว่าที่อุปกรณ์ตัวนั้นมีปัญหา ได้ดับเบิ้ลคลิกที่อุปกรณ์ตัวนั้นเพื่อเข้าสู่ Properties จากนั้นลองแก้ไขค่า Resources ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่นครับ
สาเหตุที่ ไม่ได้ลงไดรเวอร์
วิธีแก้ ให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์ลงไป โดยไดรเวอร์มักจะแถมมากับอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ หรือถ้าหาไม่ได้ให้ลองดาวน์โหลดไดรเวอร์จากเว็บไซต์ผู้ผลิตดู
สาเหตุที่ ลงไดรเวอร์ผิดรุ่น
วิธีแก้ ในบางครั้งที่ระบบปฏิบัติการจะตรวจสอบชนิดและรุ่นของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ผลของการตรวจสอบจะคลาดเคลื่อน ทางที่ดีควรตรวจเช็คให้แน่ว่ารุ่นของอุปกรณ์ตรงกับไดรเวอร์ที่ลงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ลงไดรเวอร์จากแผ่นโปรแกรมที่มาพร้อมกับเครื่อง
• ปัญหาที่ 9 คอมพิวเตอร์แฮงก์บ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
สาเหตุที่ 1 อาจเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีแก้ ลองใช้โปรแกรม Antivirus เวอร์ชั่นอัพเดทตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด
สาเหตุที่ คุณภาพเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐาน
วิธีแก้ อาจเป็นเพราะคุณภาพของเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งโดยมากมักเกิดกับเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ให้เอาไปเปลี่ยน
สาเหตุที่ ไฟล์ระบบปฏิบัติการชำรุด
วิธีแก้ ถ้ามั่นใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากไวรัสและสาเหตุอื่น ๆ ให้เรา Backup ข้อมูล ฟอร์แมต แล้วลงระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
• ปัญหาที่ 10 เวลาบู๊ตเครื่องต้องกด F1 ทุกครั้ง
สาเหตุ พบความผิดพลาดขณะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test)
วิธีแก้ เมื่อขณะเปิดเครื่อง Bios จะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test) ถ้าพบผิดพลาดจะมีข้อความแจ้งให้ผู้ใช้ทราบและหยุดรอผู้ใช้กด เพื่อทำงานต่อ ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เราตั้งค่าในBios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วไม่พบ อุปกรณ์ดังกล่าวจึงแจ้งความผิดพลาดให้เราทราบ ซึ่งเราอาจเข้าไปแก้ค่าต่าง ๆ ใน Bios ให้ตรงกับความจริง ปัญหาที่ Bios ก็จะหายไปเอง
• ปัญหา 11 หลังจากที่เปิดเครื่องแล้วมีแต่เสียงปี๊บ ยาวๆ เกิดขึ้นและเครื่องก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ 
วิธีแก้ ตามปกติเมื่อเปิดเครื่องแล้วคุณจะได้ยินเสียงดังปี๊บสั้นๆ หนึ่งครั้ง ซึ่งเสียงนี้สื่อให้คุณรู้ว่าระบบทุกอย่างอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีอะไรผิดพลาด ขึ้นกับอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดในเครื่องแล้ว ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการลืมติดตั้งการ์ดแสดงผล หน่วยความจำติดตั้งไม่แน่นหรือไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เสียงที่เกิดขึ้นนี้มีหลากหลายรูปแบบคุณจะต้องแยกให้ออก ว่าเสียงนั้นดังอย่างไร จากตัวอย่างเช่น สั้นสลับยาวหรือดังยาวๆ เพียงครั้งเดียว นอกจากนี้เมนบอร์ดที่ใช้ไบออสต่างยี่ห้อกันเสียงที่เกิดขึ้นก็จะบ่งบอกสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกันไปอีกด้วย